หน้าแรก | ติดต่อเรา | บทความ | กระดานพูดคุย | เกี่ยวกับเรา | การชำระเงิน | Download     
        ตั้งเป็นหน้าแรก   |  เครื่องคิดเลข   |  แจ้งการชำระเงิน   |  ตัวแทนจำหน่าย     ไทย | English    
   หมวดหมู่สินค้า
   สมาชิก
อีเมลล์ : 
รหัสผ่าน : 
 
 สมัครสมาชิก
 ลืมรหัสผ่าน
   Link Exchange
ราคาน้ำมันวันนี้
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
ราคาทองคำ
แผนที่ทั่วไปในประเทศ
ตารางการบินไทย
ข่าวจราจร สวพ.91
สมุดหน้าเหลือง
ดิกชันนารีออนไลน์
อ่านข่าวผู้จัดการ
อ่านข่าวไทยรัฐ
อ่านข่าวเดลินิวส์
อ่านข่าวข่าวสด
อ่านข่าวสยามสปอร์ต




ก่อนจะมาเป็น WiMAX IEEE802.16

ความเดิม
ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารนับวันยิ่งเป็นที่จำเป็นอย่างยิ่งในการประกอบอาชีพของธุรกิจหรือชีวิตประจำวัน ที่พบเห็นกันมากและบ่อยที่สุดคือ การใช้โทรศัพท์มือถือสื่อสารกันไม่ว่าจะเป็นคนอยู่ในวัยใด จะพบการสื่อสารประเภทนี้ค่อนข้างมาก นอกจากการสื่อสารทางโทรศัพท์แล้วการใช้ computer ในการติดต่อกันนั้นก็จะมีมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในการติดต่อทางธุรกิจ หรือแม้แต่ติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ในการธุรกิจ หรือจะเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบ Internet

เบื่อสาย
เมื่อต้องการที่จะเชื่อมโยงอุปกรณ์สักอย่างเข้ากับระบบเครื่อข่ายนั้นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการเชื่อมต่อนั้นก็คือ สื่อ ที่นิยมและพบเห็นได้บ่อยก็คือสายเชื่อมโยงที่มักจะเรียกกันง่ายว่า สาย LAN เพื่อที่จะเชื่อมต่ออุปกรณ์ของตนเองเข้ากับเครื่อข่าย บางครั้งสาย LAN เองก็ไม่ได้วางไว้อย่างมีระเบียบสักเท่าไรนัก เสี่ยงต่อการที่ให้คนอื่นมาทำให้สายหลุด บางครั้งสาย LAN เสียก็ต้องไปหาสายเพื่อที่จะมาเชื่อมต่อให้ได้ หรือแม้แต่บางครั้งก็ต้องมานั่งปอกสายแล้วทำสาย LAN ขึ้นมาใหม่ อีกทั้งจุดเชื่อมต่อของสาย LAN นั้นมีจำกัดไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถเชื่อมต่อได้ หรือในบางสถานที่การวางระบบสาย LAN บางก็วางไว้ตามผนัง เพดาน หรือพื้นล่าง เพื่อไม่ให้ไปเกะกะทางเดิน ในบางครั้งโต๊ะทำงานนั้นอยู่ไกลต้องมีการวางสายเชื่อมต่อกัน ต้องเจาะกำแพงบ้าง ผนังบ้าง เสียงก็ดัง ฝุ่นก็มี ฝุ่นเข้าร่างกาย ไม่สบายอีก หรือบางทีกำลังทำงานอยู่ก็ต้องเข้าประชุม ก็ต้องถอดสายเชื่อมต่อ แล้วไปเข้าห้องประชุมก็ต้องนำสาย LAN มาเชื่อมต่อใหม่ บางครั้งห้องประชุมนั้นสาย LAN ก็ไม่เพียงพออีก

ไร้สาย
จากที่กล่าวมา ถ้าในกรณีที่การเชื่อมต่อนั้นไม่จำเป็นต้องมี สื่อ ที่เป็นสายมาเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อล่ะ ทุกที่สามารถเชื่อมต่อได้ทันทีไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนของที่ทำงานหรือสถานที่ส่วนตัว ในการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ก็ไม่ต้องมีสายมาให้ถอดเข้าถอดออก หรือเวลาจะเดินไปไหนมาไหนในสถานที่ทำงานจะได้ไม่ต้องกังวลกับการที่จะต้องไปสะดุดกับสาย LAN ของเพื่อนร่วมงาน ดังนั้นถ้ามีการเชื่อมต่อที่สะดวกทำได้ทุกที่ รวดเร็วในการรับส่งข้อมูล สามารถเชื่อมต่อได้โดยที่ไม่ต้องกังวลกับระยะทางในการเชื่อมต่อ สิ่งนั้นคือ “WiMAX”

WiMAX IEEE 802.16
ทำไมเมื่อกล่าวถึง WiMAX จะต้องมาคู่กับ IEEE 802.16 เพราะ IEEE คือ องค์กรที่ทำหน้าที่ออกแบบ และวางข้อกำหนดต่างๆ ทางวิศวกรรมไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกาคือ ซึ่งย่อมาจาก Institute of Electrical and Electronics Engineer และเป็นผู้กำหนดมาตราฐานของการสื่อสารแบบไร้สาย

5501
รูปที่ 1 : มาตราฐานของการสื่อสารแบบไร้สาย

จากรูปที่ 1 จะเห็นได้ว่าระยะการให้บริการการเชื่อมต่อนั้นถูกแบ่งออกเป็นบริเวณต่างๆ PAN (Personal Area Network) จัดอยู่การสื่อสารแบบไร้สายอัตราเร็วต่ำ ใช้ได้กับระยะใกล้ๆ อัตราความเร็วรับส่งจะอยู่ในช่วงที่น้อย มาตราฐานช่วงนี้จะเป็น IEEE 802.15 ส่วนการสื่อสารในส่วนอื่นจะเป็น การสื่อสารไร้สายแบบบรอดแบนด์ ได้แก่ เครื่อข่ายเฉพาะที่ LAN (Local Area Network) , การสื่อสารไร้สายในพื้นที่กว้าง MAN (Metropolitan Area Network) และ เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเซลลูลาร์โดยทั่วไป WAN (Wide Area Network)
ก่อนที่จะเข้าสู่ WiMAX IEEE 802.16 นั้นก็จะขออธิบายจุดเริ่มต้นของการสื่อสารแบบไร้สายเสียก่อน นั่นคือ Wireless คำนี้เรามักจะได้ยินกันเป็นประจำมันคืออะไร มันก็คือการเชื่อมต่ออย่างหนึ่งที่ใช้ในการต่อเชื่อมสัญญาณการรับส่งข้อมูลจากอุปกรณ์หนึ่งเข้ากับอีกอุปกรณ์หนึ่ง ดูๆไปแล้วก็คล้ายๆกับช่องที่เอาไว้เสียบสายเชื่อมต่อ หรือ สาย LAN ที่รู้จักกัน เพียงแต่ Wireless นั้นทำการเชื่อมต่อกันโดยไม่มีช่องไว้สำหรับเสียบ แต่เป็นช่องที่ไว้ค่อยรับสัญญาณแลกเปลี่ยนข้อมูล Wireless ได้มีเทคโนโลยีแบบต่างเช่น Wi-Fi ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วในการรับส่งอยู่ระหว่าง 5-11 Mbps ระยะทางในการรับส่ง 100 เมตร และ WiMAX IEEE 802.16 ที่จะกล่าวในลำดับต่อไป เป็นต้น

4458
รูปที่ 2 : ตารางแสดงเทคโนโลยี Wi-Fi และ WiMAX

WiMAX IEEE 802.16
WiMAX ย่อมาจากคำว่า Worldwide Interoperability for Microwave Access เป็นเทคโนโลยีแบบไร้สายประเภทที่มีความสามารถที่สูงกว่า เทคโนโลยีแบบ Wi-Fi ทั้งด้านความเร็วและระยะทาง ความสามารถในการกระจายสัญญาณจะเป็นแบบจากจุดเดียวไปยังหลายจุด (Point-to-Multipoint) อีกทั้งรองรับการทำงานแบบ Non-Line of Sign คือ สามารถทำการเชื่อมต่อหรือทำงานได้ แม้จะมีสิ่งกีดขวาง เช่น ต้นไม้ ผนัง และอาคารเป็นต้น WiMAX นั้นเริ่มแรกถูกพัฒนามาจากการสื่อสารไร้สายระยะใกล้ด้วยมาตราฐาน IEEE 802.11 มาตราฐานนี้ได้พัฒนาเป็นเทคโนโลยี Wi-Fi ต่อมาได้มีมาตราฐานใหม่ขึ้นมาคือ IEEE 802.15 มาตราฐานนี้ได้ถูกนำไปพัฒนากลายเป็นเทคโนโลยีไร้สายแบบเชื่อมต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งติดต่อสื่อสารในระยะใกล้ รู้จักกันดีในนามของ Bluetooth จนปัจจุบันมาตราฐาน IEEE 802.16 ได้เข้ามาสู่การพัฒนาเทคโนโลยีไร้สายกับมาตราฐาน WiMAX


ส่วนประกอบ WiMAX
ประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักที่สำคัญดังต่อไปนี้
1. โครงสร้างพื้นฐาน
เป็นส่วนประกอบพื้นฐานก่อนที่จะมีการรับส่งข้อมูลกันจะต้องมีส่วนประกอบนี้เป็นส่วนประกอบพื้นฐานที่สำคัญซึ่ง โครงสร้างพื้นฐานจะต้องประกอบด้วย 2 ส่วนที่ประกอบขึ้นดังนี้
1.1. อุปกรณ์หลัก
หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งสัญญาณ เช่น เสาสัญญาณ วิธีการส่งสัญญาณต่างๆและระยะทาง เป็นต้น

4459
รูปที่ 3 : อุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งสัญญาณ

1.2. ตัวรับสัญญาณ
ที่มีใน Notebook หรือ Home Computer อุปกรณ์เหล่านี้จะเป็นตัวอุปกรณ์ลูกข่ายที่รับสัญญาณจากการให้บริการของเสาสัญญาณ

4460
รูปที่ 4 : แสดงอุปกรณ์รับสัญญาณที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ
มาตราฐานของ WiMAX IEEE 802.16
- IEEE 802.16
เป็นมาตราฐานที่ให้ระยทางในการให้บริการภายในระยะทาง 1.6-4.8 กิโลเมตร ส่งสัญญาณในความถี่ช่วงความถี่สูง 10-66 GHZ ซึ่งมาตราฐานนี้เป็นต้นแบบหรือแบบแรกในการพัฒนาการส่งสัญญาณรุ่นอื่น
- IEEE 802.16a
พํฒนามาจากต้นแบบ IEEE 802.16 ความสามารถที่เพิ่มขึ้นคือการทำงานแบบรองรับ Non-Line of Sign เพิ่มประสิทธิภาพในการผ่านสิ่งกีดขวาง ช่วงความถี่ที่ใช้ 2-11 GHZ พร้อทั้งขยายระบบเครื่อข่ายเชื่อมต่อ Internet แบบไร้สายความเร็วสูงได้อย่างก้าวขวางสามารถเชื่อมต่อเข้ากับ ระบบเชื่อมต่อแบบ DSL ที่ใช้ตามที่พักอาศัยต่างๆหลายๆการเชื่อมต่อได้พร้อมกันหรือระบบเครื่อข่ายระหว่างบริษัทหรือภายในบริษัทเอง
- IEEE 802.16e
เป็นการออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการทำงานกับอุปกรณ์เคลื่อนที่แบบพกพาต่างๆ เช่น Notebook และ PDA เป็นต้น

ทั้งแบบ IEEE 802.16 และ IEEE 802.16a เป็นมาตราฐานบนอุปกรณ์ที่ใช้ในโครงสร้างพื้นฐาน ในส่วนของอุปกรณ์หลัก ส่วนแบบ IEEE 802.16e เป็นรุ่นนี้ใช้บนอุปกรณ์ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน ในส่วนของ ตัวรับสัญญาณ

ความสามารถใน WiMAX IEEE 802.16
1. ความเร็ว
ในความสามารถนี้ WiMAX นั้นมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลถึง 75 Mbps อีกทั้งสามารถให้บริการครอบคลุมถึง 48 กิโลเมตร ในเรื่องสัญญาณสะท้อนก็ไม่มีปัญหา อีกทั้งความสามารถของสถานีฐาน นั้น ยังสามารถให้บริการที่เป็นประโยชน์กับผู้รับบริการอีกด้วย เช่น ในกรณีที่ไม่สามารถรับบริการแบบ 64 QAM (Quadarature Amplitude Modulation) สถานีฐานจะเปลี่ยนเป็นแบบ 16 QAM (Quadarature Amplitude Modulation) และจะขยายระยะทางเพิ่มขึ้นให้
2. ความสามารถในการขยายระบบ
WiMAX นั้นสามารถขยายระบบได้ด้วยการแบ่งความถี่ออกออกเป็นส่วนได้ ยกตัวอย่างในพื้นที่ได้รับคลื่นความถี่ 20 MHz สามารถแบ่งคลื่นความถี่ได้ออกเป็น 2 กลุ่มๆละ 10 MHz หรือสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มละ 4-5 MHz ก็ได้ทั้งนี้เมื่อแบ่งกลุ่มแล้วยังสามารถที่จะเพิ่มผู้ใช้งานในระบบได้อีกด้วย
3. ด้านความปลอดภัย
WiMAX นั้นในการรับส่งสัญญาณจะมีการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อเป็นการรักษาความลับของข้อมูลของผู้ใช้งาน นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบสิทธิการเข้าใช้งานและมีระบบการเข้ารหัสข้อมูลของผู้ใช้งานด้วย
4. การจัดลำดับความสำคัญของงานบริการ
WiMAX นั้นบางครั้งอาจให้บริการในรูปแบบของ TDM (Time Divission Multiplexed) ความต้องการของผู้ใช้งานไม่เท่ากัน ผู้ใช้งานอาจเป็นองค์กรซึ่งอาจต้องการใช้บริการด้านข้อมูลที่เป็นภาพและเสียง ก็ต้องการความเร็วในการรับส่งข้อมูล ซึ่งผู้ใช้งานตามครัวเรือนอาจไม่ต้องใช้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลมากกว่าองค์กร ระบบ WiMAX สามารถจัดลำดับหรือกำหนดระดับความสำคัญของการใช้งานให้เหมาะสมกับผู้ใช้ได้
4576
รูปที่ 5 : แสดงการเชื่อมต่อแบบไร้สายในปัจจุบันและอนาคต

ในปัจจุบันได้มีการเริ่มใช้การเชื่อมต่อแบบไร้สายมากขึ้น โดยเฉพาะการเชื่อมต่อกันเองระหว่างหน่วยงานภายในองค์กร ซึ่งระยะทางในการเชื่อมต่อก็ไม่ไกลมากนักประมาณไม่เกิน 100 เมตรและอุปกรณ์กระจายสัญญาณเองก็ตัวไม่ใหญ่มากนัก จากรูปที่ 5 จะเห็นได้ว่าการเชื่อมต่อแบบไร้สายนั้นโดยมีอุปกรณ์กระจายสัญญาณใช้เทคโนโลยีแบบ Wi-Fi ซึ่งสามารถให้บริการเชื่อมต่อกับผู้ใช้ได้ปริมาณหนึ่ง โดยทั่วไปในปัจจุบันจะเป็น Notebook กับ PDA ที่มักจะใช้การเชื่อมต่อแบบไร้สายมากกว่า Personal Computer เพราะว่า Notebook กับ PDA เหล่านี้ทางบริษัทผู้ผลิตเองจะติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณมาให้แล้ว การเชื่อมต่อแบบไร้สายนั่นจะไม่ต้องมีการกำหนด IP Address เพราะระบบจะทำการจัดสรรให้เอง ซึ่งก็เป็นข้อดีของการเชื่อมต่อแบบไร้สาย เพราะถ้าเครื่องใดออกจากระบบไปแล้ว ถ้าเมื่อเครื่องใหม่มาเชื่อมต่อกับระบบ IP Address ก็จะถูกนำไปให้กับเครื่องใหม่ที่เข้ามาเชื่อมต่อ นอกจากตามองค์กรต่างๆแล้ว ตามที่พักอาศัยประเภท คอนโดนิเนียม หรือ หอพัก ต่างๆ ก็เริ่มมีการให้บริการการเชื่อมต่อแบบไร้สายมากขึ้น อาคารเหล่านั้นมักจะมีจุดกระจายสัญญาณตามชั้นต่างๆหรือจุดต่างๆที่เหมาะสมกับอาคารนั้น แล้วก็ให้บริการกับผู้พักอาศัยภายในอาคาร ในด้านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ต่างๆนั้นเครื่อข่ายได้ให้บริการในระยะทาง 3-8 กิโลเมตรซึ่งยังอยู่ในช่วงการให้บริการเชื่อมต่อกับระบบเครื่อข่าย แต่ในด้านความเร็วในการรับส่งนั้นจะอยู่ในระหว่าง 10-130 Kbps ยุค 2-2.5G และระดับสูงสุดที่ 300-500 Kbps ในยุค 3G


ประโยชน์ของ WiMAX IEEE 802.16

เมื่อกล่าวถึง WiMAX นั้น ประโยชน์ที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือการเชื่อมต่อแบบไร้สาย เช่น ภายในห้องประชุมต้องการประชุมกันและผู้เข้าร่วมประชุมจะต้องเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครื่อข่าย ฝ่ายจัดเตรียมห้องนั้นก็ไม่ต้องวางสายเชื่อมต่อให้เป็นที่เกะกะภายในห้องประชุม เพียงแต่ตั้งเครื่องกระจายสัญญาณไว้จากนั้นก็เสียบปลั๊กใช้งาน ผู้เข้าร่วมประชุมก็จะเชื่อมต่อกับสัญญาณนั้นได้ง่าย สะดวก ไม่ต้องลงทุนอะไรมากนัก ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดซึ่งต่อจากประโยชน์ข้างต้นที่กล่าวมาแล้วนั้น ภายในห้องประชุมนั้นอาจไม่กว้างมากนัก แต่ถ้าต้องมีการจัดงานแสดงต่างๆภายในอาคารซึ่งบริเวณกว้างมาก ในลักษณะอย่างนี้ Wi-Fi อาจใช้ได้แต่ยังไม่เพียงต่อความกว้างของอาคารและจำนวนผู้ใช้งาน WiMAX นั้นได้ลบข้อจำกัดตรงนี้ไป เพราะสามารถให้ช่วงความกว้างได้มากกว่า Wi-Fi อีกและยังมีความถี่ซึ่งรองรับผู้ใช้ได้มากกว่า อีกทั้งยังไม่ต้องกังวลในเรื่องมีสิ่งกีดขวาง เช่น ผนัง หรือ อาคาร เพราะความสามารถในการผ่านสิ่งเหล่านี้มีมากกว่า สำหรับประโยชน์ที่กล่าวมานั้น ยังไม่ได้กล่าวถึงผู้ที่ต้องเชื่อมต่อกับระบบเครื่อข่ายโดยที่ผู้ใช้เองต้องเคลื่อนที่ตลอด WiMAX ได้มีบริการเชื่อมต่อไว้แล้วสำหรับผู้ใช้ที่เคลื่อนที่ตลอด เพราะบางทีผู้ใช้อาจถือ Notebook ไปไหนมาไหน แต่ก็อยากจะเชื่อมต่อตลอด สำหรับประโยชน์ที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีประโยชน์อีกหลายด้าน แต่ในที่นี้จะพูดถึงการที่บางพื้นที่ไม่มีชุมสายที่ให้บริการหรือมีแต่ในปริมาณที่จำกัด ซึ่งผู้ใช้บริการนั้นมีมาก ไม่เพียงพอและผู้ใช้บริการยังอยู่นอกพื้นที่ให้บริการอีก WiMAX นั้นไม่จำเป็นต้องมีการวางสายหรือวางเครื่อข่ายที่ยุ่งยากนัก เพียงแต่มีที่ตั้งสถานีฐานซึ่งใช้ในการกระจายสัญญาณ ให้กับผู้ใช้ได้ก็สามารถที่จะใช้ผู้ใช้เข้ามาใช้บริการได้เท่านั้นเอง สถานีฐานที่ติดตั้งนั้นก็ต้องเชื่อมต่อเข้ากับ สถานีฐานอื่นหรือระบบเครื่อข่ายอื่นด้วย เท่านี้เองผู้ใช้บริการก็สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครื่อข่าย Internet ได้เรียบร้อยแล้ว
ในด้านความเร็วในการรับส่งข้อมูลนั้นก็ได้สูงกว่า Wi-Fi เพราะ WiMAX รับส่งข้อมูลในระดับ 15-70 Mbps ข้อมูลที่ต้องการใช้ความเร็วระดับนี้ จำพวก ไฟล์ภาพและเสียง ก็จะส่งต่อเนื่องได้ไม่ขาดตอนและส่งได้ในปริมาณครั้งละมากๆ ซึ่งทำให้ผู้ใชช้บริการสามารถดูภาพยนต์หรือดู TV ภาพ Internet ได้ไม่ขาดตอน
จากรูปที่ 5 การติดต่อสื่อสารกับระบบเครื่อข่าย จะสามารถกระทำได้ทุกที่ทุกเวลาและการเชื่อมต่อนั้นจะยังคงอยู่กับเราไปเรื่อยๆจนกว่าเราจะปิดการติดต่อนั้นออกไปเอง การเชื่อมต่อกับระบบเครื่อข่ายนั้นอุปกรณ์ต่างๆสามารถเข้าเชื่อมกับระบบได้โดยตรง Personal Computer เองก็จะมีอุปกรณ์ใช้รับส่งสัญญาณ เพื่อเข้าสู่ระบบเครื่อข่ายแบบไร้สายได้ องค์กรแต่ละองค์กร หรือองค์กรที่มีสาขาอยู่รอบรัศมีการให้บริการของเครื่อข่าย ก็จะสามารถทำการเชื่อมต่อเข้ากับเครื่อข่ายขององค์กรตังเองได้ทันที ไม่ต้องมีการวางสายการเชื่อมหรือต้องเชื่อมต่อเข้ากับระบบ Internet ก่อนจึงจะสามารถเชื่อมต่อกับองค์กรสาขาของตนเองได้ ในองค์กรหลักและองค์กรสาขาเพียงแต่มีอุปกรณ์รับส่งสัญญาณระหว่างกันแล้วทำการกระจายไปสู่เครื่องอุปกรณ์อื่นๆ เท่านั้นก็สามารถเปิดการเชื่อมต่อได้ทันที อีกทั้งองค์กรก็ไม่ต้องไปลงทุน ทุบผนัง หรือ ขุดท่อ เพื่อวางระบบสายเชื่อมโยงอีกทั้งจำนวน IP Address อาจไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ใช้ แต่การเชื่อมต่อแบบ WiMAX นั้นช่วงความถี่สามารถเชื่อมต่อกับผู้ใช้ได้ในปริมาณที่มาก ในส่วนความเร็วอย่างที่ได้เคยกล่าวไปแล้วว่า WiMAX นั้นสามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็ว 15-70 Mbps ส่วนอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องเคลื่อนที่ตลอด จำพวก อุปกรณ์สื่อสารแบบไร้สาย ก็จะมีขีดความสามารถที่เพิ่มขึ้นไปอีกในด้านความเร็วในการรับส่งข้อมูล เมื่อผู้ใช้ต้องเคลื่อนที่ตลอดและต้องการ load ข้อมูลไปด้วยกัน WiMAX ได้ให้บริการด้วยความเร็ว 1.5 Mbps และผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปกังวลถึงการหลุดการติดต่อกับเครื่อข่ายด้วย

อนาคต มาตราฐาน IEEE 802.16 กับ มาตราฐาน IEEE เอง

5503
รูปที่ 6 : แสดง IEEE 802 กับลักษณะการใช้งาน

การพัฒนาก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปได้เรื่อยๆ เพราะเทคโนโลยีและความสามารถของการคิดค้นของมนุษย์ มาตราฐาน IEEE 802.16e ก็จะออกมาสนับสนุนการทำงานแบบผู้ใช้เคลื่อนที่ตลอดเวลา แต่การเชื่อมต่อยังคงมีอยู่นั้น แต่ก็ยังคงจำกัดในระยะทางและอุปกรณ์การสื่อสารโดยเฉพาะโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเซลลูลาร์ ย่อมต้องมีการพัฒนาขึ้นไปอีก มาตราฐานที่จะออกมารองรับใส่ส่วนนี้คือ IEEE 802.20 ซึ่งจะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในเรื่องของการให้บริการในระยะที่ไกลมากกว่ามาตราฐานของ IEEE 802.16

อนาคต มาตราฐาน IEEE 802.16 กับ คู่แข่ง

5504
รูปที่ 7 : แสดง มาตราฐาน IEEE 802.16 กับการแข่งขัน

ถ้าเปรียบเทียบกับระบบเครื่อข่ายโทรศัพท์ที่พัฒนามาจากระบบ GSM แล้วจะพบมาตราฐานที่เป็นคู่แข่งคือ UMTS กับ WCDMA ซึ่งทั้งสองมาตราฐานนี้จะเน้นการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 2-10 Mbps เพราะระบบนี้จะมีอุปกรณ์ที่ได้วางโครงสร้างไว้เรียบร้อยกว่าของ WiMAX แล้วอีกทั้งระบบเครื่อข่ายที่วางไว้แล้วนั้นได้ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการในปริมาณที่กว้าง รวมไปถึงอุปกรณ์ต่างๆมีการผลิตมาเพื่อรองรับกับระบบเครื่อข่ายนี้อยู่แล้ว นอกจากนี้การมาของมาตราฐาน CDMA 2000 1xEV-DO ซึ่งจะเข้ามาสนับสนุนในด้านความเร็วการรับส่งข้อมูล รวมไปถึงผู้ใช้บริการในเครื่อข่ายนี้ก็ยังคงมีปริมาณที่มากอยู่แล้ว

อนาคต มาตราฐาน IEEE 802.16 กับการเข้าสู่ 4G

5505
รูปที่ 8 : แสดง มาตราฐาน IEEE 802.16 กับ ยุค 4G

ในส่วนของ WiMAX IEEE 802.16 นั้นการเข้าสู่ในยุคที่ 4G (Fourth Generation Mobile) ซึ่งเป็นยุคของการสื่อสารแบบไร้สาย มาตราฐาน IEEE 802.16 นั้นได้มีแนวคิดรองรับการทำงานไว้แล้ว โดยมาตราฐาน IEEE 802.16e ซึ่งจะเน้นการรับส่งข้อมูลไร้สายในอุปกรณ์พกพาต่างๆจำพวก Notebook หรือ PDA แล้วทำให้ WiMAX IEEE 802.16 ต้องจะสามาราถให้บริการกับอุปกรณ์สื่อสารแบบผสมผสาน (Convergence Device) สามารถสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะผู้ใช้บริการเองต้องการเชื่อมต่อกับเครื่อข่ายเดียว แต่ต้องสามารถติดต่อสื่อสารกับเครื่อข่ายได้หลายประเภท และสามารถใช้บริการต่างๆได้ โดยไม่ขึ้นกับเครื่อข่ายไร้สายที่ผู้ใช้บริการใช้งานอยู่

ขอขอบคุณ Baby IT และเวปวิชาการ.คอม (www.vcharkarn.com)

    © 2006 www.p-hz.com All Rights Reserved.  You are visitor no. 4,353,956    ®     ออนไลน์อยู่ : 2   
Power by BangkokDomain.com